วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

พระราชประวัติสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ



พระทรงเป็นดั่งเช่นแม่ของแผ่นดิน
พระราชประวัติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระนามเดิมว่า หม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ กิติยากร ทรงเป็นพระราชธิดาองค์ใหญ่ ของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล (ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็น พลเอกพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ) กับหม่อมหลวงบัว กิติยากร เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2475 ณ บ้านของพลเอกเจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ บิดาของหม่อมหลวงบัว กิติยากร ที่ถนนพระราม 6 กรุงเทพมหานคร สมเด็จ
พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระเชษฐาและพระกนิษฐภคินี รวม 3 องค์คือ
1. หม่อมราชวงศ์ กัลยาณกิติ์ กิติยากร
2. หม่อมราชวงศ์ อดุลยกิติ์ กิติยากร
3. หม่อมราชวงศ์ บุษบา กิติยากร
หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เติบโตขึ้นมาในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จึงทำให้ต้องอยู่ไกลจาก พระบิดามารดาในตอนแรก โดยได้ตามเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปประทับ ที่จังหวัดสงขลา ในปี 2476 ต่อมา เมื่อหม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ มีอายุได้ 5 ขวบ ได้เข้ารับการศึกษาครั้งแรก ในชั้นอนุบาลที่โรงเรียน ราชินี เมื่อปี 2480 และเมื่อสงครามมหาเอเซียบูรพา ได้แผ่ขยายมาถึงประเทศไทย กรุงเทพมหานคร ถูกโจมตีทางอากาศบ่อยครั้ง ทำให้การคมนาคม ขาดความสะดวกและปลอดภัยหม่อมเจ้านักขัตรมงคล จึงให้ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ย้ายไปเรียนที่ โรงเรียนเซ็นต์ฟรังซิสซาเวียร์คอนแวนต์ ในชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2 จนถึงชั้นมัธยมศึกษา เพราะอยู่ใกล้บ้าน และที่นี่หม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ ได้เริ่มเรียนเปียโน ซึ่งสามารถเรียนได้ดีและเร็วเป็นพิเศษ นอกเหนือไปจาก ความสามารถทางด้าน ภาษาต่างประเทศคือ ภาษาอังกฤษ และฝรั่งเศส ที่สามารถเรียนได้ดีเช่นกัน เมื่อสงครามโลก ครั้งที่ 2 สงบลง รัฐบาลไทยซึ่งขณะนั้นมี พันตรีควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ทูลขอให้หม่อมเจ้านักขัตรมงคล ไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำสำนักเซ็นต์เยมส์ ประเทศอังกฤษเมื่อปี 2489 โดยได้ทรงพาครอบครัวทั้งหมดไปอยู่ด้วย ขณะนั้นหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ มีอายุได้ 13 ปีเศษและเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้ว ระหว่างที่อยู่ในประเทศอังกฤษหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ได้ศึกษาภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส กับครูพิเศษ ควบไป กับการเรียนเปียโน ต่อมาไม่นานนัก หม่อมเจ้านักขัตรมงคล ได้ถูกย้ายไปดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต ประจำประเทศเดนมาร์กและต่อไปที่ประเทศฝรั่งเศส หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ยังคงเรียนเปียโนเพื่อหาโอกาส เข้าศึกษาต่อในวิทยาลัยการดนตรี ที่มีชื่อของกรุงปารีส และที่ประเทศฝรั่งเศสนี้เองที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช (ขณะนั้นทรงเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วและ เสด็จฯ ไปทรงศึกษาต่อที่สวิสเซอร์แลนด์) ซึ่งทรงโปรดการเสด็จประพาสกรุงปารีส โดยทางรถยนต์จาก สวิสเซอร์แลนด์ เพื่อทอดพระเนตรรถยนต์ แทนคันเดิมที่รับราชการสนองพระเดชพระคุณมาเป็นเวลานาน และการแสดงดนตรีของคณะที่มีชื่อเสียงอยู่บ่อยครั้ง และในระหว่าง ที่เสด็จฯ มายังกรุงปารีส ก็จะทรง ประทับที่สถานทูตไทยประจำประเทศฝรั่งเศสเช่นเดียวกันกับนักเรียนไทยคนอื่น และเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดการดนตรีเป็นพิเศษ ขณะที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เองก็สนใจและรอบรู้เข้าใจ ในศิลปะการดนตรีเป็นอย่างดี ทำให้เป็นที่ต้องพระราชอัธยาศัย จนกลายเป็น ความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นในที่สุด ในปี 2491 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และทรงเข้ารับ การรักษาพระองค์ในโรงพยาบาล โดยมีหม่อมหลวงบัว และหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เข้าเฝ้าฯ ถวายการพยาบาลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา และในช่วงระยะเวลาที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์อยู่เฝ้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่สวิสเซอร์แลนด์นั้น สมเด็จพระราชชนนี ได้ทรงรับเป็นธุระ จัดการให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เข้าศึกษาใน Pensionnat Rinate Rive ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำ ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง ของโลซานน์ จนเมื่อหลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหายจาก อาการประชวรแล้ว ได้ทรงหมั้นหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เป็นการภายในเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2492 ภายหลังจากพิธีหมั้นผ่านไป หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ยังคงศึกษาอยู่ต่อจนเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว เสด็จฯนิวัติพระนคร จึงทรงโปรดให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ตามเสด็จ พระราชดำเนินกลับมาด้วย เพื่อร่วม ในพระราชพิธีถวายพระเพลิง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ในเดือนมีนาคม 2493 ต่อมาในวันที่ 28 เมษายน ปีเดียวกันนั้น ทรงโปรดให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสขึ้น ณ วังสระปทุม และโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินี สิริกิติ์ ครั้นเมื่อ มีพระราชพิธี บรมราชาภิเษก ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช โปรดให้เฉลิมพระนามาภิไธยสมเด็จพระราชินี สิริกิติ์ เป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี หลังจากนั้นทั้ง 2 พระองค์ ได้เสด็จฯ กลับไปยังสวิสเซอร์แลนด์อีกครั้งหนึ่ง เพื่อทรงรักษาพระองค์ และทรงศึกษาต่อ และได้เสด็จฯ กลับมาประทับที่ประเทศไทยในปี 2495 ในปี 2499 พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ออกบรรพชาตามโบราณราชประเพณีเป็นเวลา 15 วัน ระหว่าง
วันที่ 22 ตุลาคม ถึง 5 พฤศจิกายน ในระหว่างที่ผนวชอยู่นี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์ ซึ่งต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดฯให้เฉลิมพระอภิไธย เป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อ 5 ธันวาคมศกนั้น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชโอรส และพระราชธิดารวม 4 พระองค์คือ
1. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประสูติ ณ สถานพยาบาล มองซัวซี นครโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2494 ต่อมาได้ทรงลาออกจาก ฐานันดรศักดิ์ เพื่อสมรสกับนายปีเตอร์ เลด เจนเซ่น ชาวอเมริกัน ทรงมีพระโอรสและพระธิดา 3 องค์
2. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ บรมจักราดิศรสันตติวงศ์ เทเวศรธำรงสุรบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดชภูมิพลนเรศวรางกูล กิตติสิริสมบูรณ์ สว่างควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2495 ต่อมาในปี 2515 ทรงได้รับการสถาปนา ขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมุฏราชกุมาร
3. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2498 ต่อมาทรงได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระอิสริยยศ เป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรรัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เมื่อปี 2520
4. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ 4 กรกฏาคม 2500 ทรงอภิเษกสมรสกับ เรืออากาศโท (ยศในขณะนั้น) วีระยุทธ ดิษยะศริน ทรงมีพระธิดา 2 พระองค์
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่ง นับตั้งแต่วันที่ทรงเข้าสู่พระราชพิธีราชาภิเษกสมรสเป็นต้นมา ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็น ในฐานะภรรยา ด้วยการถวายความจงรักภักดี เอาพระทัยใส่ ถวายการปรนนิบัติต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตลอดจน ทรงเป็นกำลังพระราชหฤทัย ให้พระราชสวามี เสมอตลอดมา หรือ ในฐานะแม่ ก็ทรงอบรม เลี้ยงดูพระราชโอรสและพระราชธิดาด้วยความเอาพระทัยใส่ยิ่ง แต่ที่สำคัญที่สุดคือ ในฐานะพระบรมราชินีของประชาชนชาวไทยโดยในระยะแรกมักจะเป็นการ ตามเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปในการพระราชพิธีต่างๆ รวมทั้งได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ในตำแหน่ง ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามที่ทรงได้รับการแต่งตั้งในระหว่างที่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงผนวชได้เป็นอย่างดี สมกับที่ได้รับการไว้วางพระราชหฤทัย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จะโดยเสด็จฯ เคียงข้างองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการทรงปฏิบัติ พระราชกรณียกิจเพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชนชาวไทยไม่ว่าจะเป็นในด้านการ ศึกษา การศาสนา การรักษาไว้ซึ่งประเพณี วัฒนธรรมของชาติ หรือการสร้างและรักษาสัมพันธภาพ กับนานาประเทศ
นอกจากนี้ยังทรงมีพระราชดำริ และพระราโชบายสอดคล้องต้องกันกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในอันที่จะยกระดับฐานะ ความเป็นอยู่ของราษฎรให้ดีขึ้น โดยในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงริเริ่มก่อตั้งโครงการหลวง ต่าง ๆ ขึ้น สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ก็ทรงริเริ่มโครงการ ให้ราษฎร โดยเฉพาะสตรีชาวนา ในท้องที่ชนบททำอาชีพเสริม โดยการใช้เวลาว่างจากการทำนาทำไร่ มาทำหัตถกรรมในครัวเรือนด้วยการนำเอาวัสดุที่หาง่าย และมีอยู่แล้วในท้องถิ่นนั้น มาประดิษฐ์เป็น สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ซึ่งโครงการอาชีพเสริมนี้นอกจากจะเป็นการเพิ่มพูนรายได้ให้กับราษฎรแล้ว ยังเป็นการรักษา งานศิลปะหัตถกรรมของไทย ให้คงอยู่กับชาติไทยต่อไป ต่อมาเมื่อโครงการมีผลงานปรากฏออกมากว้างขวางมากขึ้น ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ก่อตั้ง เป็นรูปของมูลนิธิ พระราชทานนามว่า "มูลนิธิ ส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษในพระบรมราชินูปถัมภ์" เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2519 ต่อมามีการเปลี่ยนชื่อของมูลนิธิ เป็น มูลนิธิศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในปี 2528 โครงการมูลนิธิศิลปาชีพพิเศษฯ นี้แบ่งการช่วยเหลือราษฎรออกเป็น 2 ลักษณะคือ
1. การส่งเสริมสนับสนุนงานฝีมือที่ชาวบ้านทำเป็นอยู่แล้วในหมู่บ้าน เช่น การทอผ้าไหมมัดหมี่ การทำกระเป๋าย่านลิเพา การทอเสื่อกระจูด เป็นต้น
2. การฝึกอบรมให้ชาวบ้านทำงานฝีมือที่ตนเองไม่เคยทำมาก่อน เช่น การปั้นตุ๊กตาชาววัง การทำดอกไม้ ประดิษฐ์ การทอผ้าฝ้าย การเป่าแก้ว การทำเครื่องถมทองและการจักสาน และอื่น ๆ ทั้งนี้ ได้ทรงพระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นกองทุนเริ่มต้น ทรงเป็นแบบอย่างในการส่งเสริม และรักษางานศิลปะหัตถกรรมของไทยให้แพร่หลาย
เสด็จฯ ไปเยี่ยมเยียน และติดตามความก้าวหน้า พร้อมกับพระราชทานคำแนะนำ และกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติการ ในโครงการฯ อยู่เสมอมิได้ขาด กับทรงเอาเป็นพระราชธุระในการจัดหาตลาดสำหรับจำหน่ายสินค้า เหล่านี้อีกด้วย นอกจากนี้ยังทรงเป็นแบบอย่างในการส่งเสริม และรักษางานศิลปะหัตถกรรมของไทย ให้แพร่หลาย ทั้งในหมู่คนไทย และชาวต่างชาติ โดยจะทรงฉลองพระองค์ที่ตัดเย็บด้วยผ้าพื้นเมืองของ ไทย เช่น ผ้ามัดหมี่ ผ้าขิด ผ้าปักชาวเขา ฯ และทรงใช้กระเป๋าถือ ที่ทำมาจากย่านลิเพา เป็นต้น นอกเหนือไปจากงานศิลปาชีพพิเศษแล้ว ในด้านการสาธารณสุข สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ผู้ทรงดำรงตำแหน่ง องค์สภานายิกาสภากาชาดไทย ก็มักจะพระราชทานพระราชดำริในการจัดหาเงินรายได้บำรุงสภา กาชาดไทยเป็นประจำทุกปี และจะทรงเสด็จฯ ไปในการพระราชทานเข็มที่ระลึก แก่ผู้บริจาคโลหิตครบ ตามที่สภากาชาดกำหนดอย่างสม่ำเสมอ (ในระยะหลัง ๆ นี้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ หรือ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จฯ แทนพระองค์ เนื่องจากทรงมี ปัญหาทางด้านพระพลานามัย)และถ้าหากเสด็จฯเยือนต่างประเทศ ก็จะทรงถือโอกาส เสด็จฯ ทอดพระเนตร กิจการกาชาดของประเทศนั้น ๆ เพื่อทรงนำมาปรับปรุงกิจการสภากาชาดไทย ให้ก้าวหน้าทัดเทียม สำหรับพระราชกรณียกิจทางด้านการทหารนั้น โดยที่ทรงดำรงตำแหน่งพันเอกผู้บังคับการพิเศษ กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระอค์ จึงทรงให้ความสนพระราชหฤทัยต่อการดำเนินงานของกรม ทหารราบที่ 21 รอ.ตลอดมา โดยผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 21 จะเข้ามาถวายรายงานถึงผลการ ปฏิบัติงาน พร้อมกับรับพระราชเสาวณีย์ ตลอดจนคำแนะนำ ไปดำเนินการปฏิบัติ อยู่เป็นประจำ ทั้งยังทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ให้นำไปใช้ในด้านสวัสดิการของทหารในบังคับบัญชา ของพระองค์ด้วย ไม่เพียงแต่ประชาชนชาวไทยเท่านั้น ที่จะได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระองค์ ผู้อพยพลี้ภัยสงคราม จากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งอาศัยอยู่ตามชายแดนของประเทศไทย ก็มีโอกาสได้รับ พระเมตตาคุณจาก พระองค์ด้วย โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สภากาชาดไทยไปให้ความร่วมมือกับ กาชาดสากล ในการช่วยเหลือผู้อพยพ ทั้งทางด้านที่อยู่ อาหารและการสาธารณสุข กับทรงพระราชทานครูเข้าไปสอน วิชาชีพให้แก่ผู้อพยพ ให้รู้จักประกอบอาชีพ เพื่อเป็นประโยชน์ เมื่อถูกส่งไปอยู่ยัง ประเทศที่สามแล้ว และ เมื่อมีโอกาส ก็จะเสด็จฯ เยี่ยมเยียนศูนย์อพยพผู้ลี้ภัยเหล่านี้ เพื่อทรงประจักษ์ด้วยพระองค์เองว่า ผู้อพยพ ซึ่งเป็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ได้รับความช่วยเหลือให้มีความเป็นอยู่ดีตามสมควรแล้วหรือไม่ จากการที่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงทุ่มเท พระวรกาย และพระสติปัญญา ปฏิบัติพระราชกิจ เพื่อให้ราษฎรของพระองค์ สามารถ ช่วยเหลือตัวเองได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น กับได้พระราชทาน ความช่วยเหลือ ให้แก่ผู้อพยพลี้ภัย ที่ทรงถือว่า เป็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน และไม่ละเว้นไปถึงสัตว์น้อยใหญ่ ที่พลอยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระองค์ด้วย ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ทั่วไป ทำให้องค์กรระหว่างประเทศ หลายองค์กร ต่างพากันยกย่องสรรเสริญ โดยการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิติมศักดิ์ และใบประกาศเกียรติคุณต่าง ๆ อาทิ ขอพระราชทานพระนามาภิไธยของพระองค์ ไปเป็นชื่อของดอกไม้ พันธุ์ที่คิดค้นขึ้นใหม่ เหรียญเซเรส เหรียญทองโบโรพุทโธ รางวัล ยูนิเฟม อะวอร์ด ออฟ เอ็กเซลเล้น เป็นต้น เพื่อเป็นการสดุดีเฉลิมพระเกียรติ ในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ให้เป็นที่แพร่หลาย กว้าง ขวางต่อไปอีกด้วย ปัจจุบันนี้แม้จะทรงเจริญพระชนมายุมากกว่า 71 พรรษาแล้ว ทั้งยังทรงมีพระพลานามัย ที่ไม่ค่อยแข็งแรงนัก จนต้องทรงงดออกงาน ที่ต้องหักโหมพระวรกายแล้วก็ตาม แต่ก็ยังทรงเป็นห่วง เป็นใยราษฎรของพระองค์ และมิได้ทรงหยุดปฏิบัติพระราชกรณียกิจ เพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกร ชาวไทยแต่ประการใด รางวัลเชิดชูและสดุดีเฉลิมพระเกียรติ แด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงได้รับรางวัลเชิดชูต่างๆ ทั้งจากองค์การรัฐบาลในประเทศไทย และรัฐบาล-องค์การเอกชนต่างประเทศ
1. องค์การรัฐบาลในประเทศไทย
มหาวิทยาในประเทศไทย ทูลเกล้าฯ ถวายดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ รวม24 ปริญญา

1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 4 ปริญญา
2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 3 ปริญญา
3. วิทยาลัยวิชาการศึกษา 1 ปริญญา
4. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2 ปริญญา
5. สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ 1 ปริญญา
6. มหาวิทยาลัยรามคำแหง 4 ปริญญา
7. มหาวิทยาลัยมหิดล 2 ปริญญา
8. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 1 ปริญญา
9. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 2 ปริญญา
10. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 1 ปริญญา
11. มหาวิทยาลัยของแก่น 1 ปริญญา
12. มหาวิทยาลัยศิลปากร 1 ปริญญา

2. รัฐบาลและองค์การเอกชนต่างประเทศ
ทูลเกล้าฯถวายรางวัลเชิดชูและสดุดีเฉลิมพระเกียรติ รวม 13 รางวัล

• 11 พฤษภาคม 2522 องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ(FAO)ทูลเกล้าฯถวาย “เหรียญเซเรส” ในพระฐานะที่พระองค์ทรงเป็นสตรีดีเด่น ทรงอุทิศพระองค์พัฒนาสตรีและประชาชนในชนบท และทรงสนับสนุนพระราโชบายในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หันในการเกษตรและที่ดินทำกิน

• 9 พฤศจิกายน 2524 สหพันธ์พิทักษ์เด็ก นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ทูลเกล้าฯถวาย “รางวัลเกียรติคุณ”ในวาระฉลองครบรอบ 50 ปี ขององค์การ ในพระราชกรณียกิจที่พระองค์ทรงช่วยเหลือผู้ยากไร้ในชนบทผู้ลี้ภัยและเด็กพิการ

• 12 พฤศจิกายน 2524 เลขาธิการองค์การสหประชาชาติทูลเกล้า ถวายเหรียญ “The First Thai Proof Coins In Series Commemorating The International Year of The Child-IYC”

• 19 มิถุนายน 2524 โครงการจัดการทำเหรียญที่ระลึกปีเด็กสากล ขององค์การยูนิเซฟทูลเกล้าฯถวาย “เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกปีเด็กสากล ”

• 14 มีนาคม 2528 สมาคมเอเชียทูลเกล้าถวายฯรางวัล “ด้านมนุษยธรรม” เป็นรางวัลแรกของสมาคมนับแต่ก่อตั้งมา ด้วยพระราชกรณียกิจทรงยกฐานะสตรีให้สูงขึ้นทางการศึกษา เศรษฐกิจและศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาติ

• 19 พฤศจิกายน 2529 World Wildlife Fund ทูลเกล้าฯถวาย ประกาศนียบัตรเทิดพระเกียรตินักอนุรักษ์ดีเด่นด้านาการอนุรักษ์ป่าไม้และสัตว์ป่า

• 1 พฤษภาคม 2531 ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งกรุงลอนดอนทูลเกล้า ถวาย สมาชิกภาพกิตติมศักดิ์ ของราชวิทยาลัย ด้วยทรงประกอบพระราชภารกิจนานาประการ ยังให้เกิดผลดีทางการแพทย์และสาธารณสุข

• 29 มีนาคม 2533 ศูนย์ศึกษาการอพยพ (CMS) ทูลเกล้า ฯถวายรางวัล ความช่วยเหลือแก่ผู้ลี้ภัยประจำปี ทั้งนี้ด้วยทรงส่งเสริมด้านมนุษยธรรมแก่ผู้ลี้ภัยนับล้านคน ที่หลั่งไหลเข้าสู่ประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2518

• 1 พฤศจิกายน 2534 กลุ่มผู้สนับสนุนพิพิทธภัณฑ์เด็กแห่งกรุงวอชิงตัน D.C.ทูลเกล้าฯถวายรางวัลมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ประจำปี 2534 เป็นรางวัลที่ชาวต่างประเทศได้รับเป็นครั้งแรกของรางวัลนี้

• 30 มกราคม 2535 องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(UNESCO) ทูลเกล้า ฯ ถวาย เหรียญทองโบโรพุทโธ เนื่องในพิธีเปิดงาน “มรดกสิ่งทอเอเชียหัตถกรรมและอุตสาหกรรม” ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

• 2 สิงหาคม 2534 องค์การระหว่างประเทศ 2 องค์กร ได้แก่ องค์การกองทุนเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNIFEM) ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศแห่งประเทศไทย จัดงานเฉลิมพระเกียรติ ชื่อ “งานนานาชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชินีนาถ” องค์การระหว่างประเทศทั้ง 2 องค์การ ได้ทูลเกล้าถวายรางวัลสดุดีดังต่อไปนี้

- องค์การยูนิเชฟ ทูลเกล้าฯถวาย “เหรียญ UNICEF Special Recognition Award” ซึ่งเป็นเหรียญที่เคยมอบให้แก่กาชาดสากล ไม่เคยมอบให้แก่บุคคลใดและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงเป็นพระองค์แรกที่ทรงได้รับเหรียญนี้

- องค์การยูนิเฟม ทูลเกล้าฯถวาย “UNIFEM Award of Excellence” เป็นรางวัลดีเด่นที่พระองค์ทรงมุ่งมั่นสนับสนุนบทบาทสตรีไทยในการพัฒนาประเทศ

• 14 พฤษภาคม 2536 ครั้งล่าสุด มหาวิทยาลัยจอร์ทาวน์ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.สหรัฐอเมริกา ทูลเกล้าฯ ถวาย ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขามนุษย์ศาสตร์

• 26 พฤษภาคม 2536 เวลาใกล้เคียงกัน มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา เช่นกัน ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล “สตรีแห่งปี 1993” ในฐานะที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อประโยชน์สุขของส่วนร่วมเสมอมา















สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระนามเดิมว่า หม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ กิติยากร

ทรงเป็นพระราชธิดาองค์ใหญ่ ของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล (ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็น พลเอกพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ) กับหม่อมหลวง บัว กิติยากร เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2475 ณ บ้านของพลเอกเจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ บิดาของหม่อมหลวงบัว กิติยากร ที่ถนนพระราม 6 กรุงเทพมหานคร
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระเชษฐาและพระกนิษฐภคินี รวม 3 องค์คือ
1. หม่อมราชวงศ์ กัลยาณกิติ์ กิติยากร
2. หม่อมราชวงศ์ อดุลยกิติ์ กิติยากร
3. หม่อมราชวงศ์ บุษบา กิติยากร
หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เติบโตขึ้นมาในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จึงทำให้ต้องอยู่ไกลจาก พระบิดามารดาในตอนแรก โดยได้ตามเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปประทับ ที่จังหวัดสงขลา ในปี 2476









ต่อมา เมื่อหม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ มีอายุได้ 5 ขวบ
ได้เข้ารับการศึกษาครั้งแรก ในชั้นอนุบาลที่โรงเรียน ราชินี เมื่อปี 2480 และเมื่อสงครามมหาเอเซียบูรพา ได้แผ่ขยายมาถึงประเทศไทย กรุงเทพมหานคร ถูกโจมตีทางอากาศบ่อยครั้ง ทำให้การคมนาคม ขาดความสะดวกและปลอดภัยหม่อมเจ้านักขัตรมงคล จึงให้ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ย้ายไปเรียนที่ โรงเรียนเซ็นต์ฟรังซิสซาเวียร์คอนแวนต์ ในชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2 จนถึงชั้นมัธยมศึกษา เพราะอยู่ใกล้บ้าน และที่นี่หม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ ได้เริ่มเรียนเปียโน ซึ่งสามารถเรียนได้ดีและเร็วเป็นพิเศษ นอกเหนือไปจาก ความสามารถทางด้าน ภาษาต่างประเทศคือ ภาษาอังกฤษ และฝรั่งเศส ที่สามารถเรียนได้ดีเช่นกัน
เมื่อสงครามโลก ครั้งที่ 2 สงบลง
รัฐบาลไทยซึ่งขณะนั้นมี พันตรีควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ทูลขอให้หม่อมเจ้านักขัตรมงคล ไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำสำนักเซ็นต์เยมส์ ประเทศอังกฤษเมื่อปี 2489 โดยได้ทรงพาครอบครัวทั้งหมดไปอยู่ด้วย ขณะนั้นหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ มีอายุได้ 13 ปีเศษและเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้ว








ระหว่างที่อยู่ในประเทศอังกฤษหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ได้ศึกษาภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส
กับครูพิเศษ ควบไป กับการเรียนเปียโน ต่อมาไม่นานนัก หม่อมเจ้านักขัตรมงคล ได้ถูกย้ายไปดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต ประจำประเทศเดนมาร์กและต่อไปที่ประเทศฝรั่งเศส หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ยังคงเรียนเปียโนเพื่อหาโอกาส เข้าศึกษาต่อในวิทยาลัยการดนตรี ที่มีชื่อของกรุงปารีส
และที่ประเทศฝรั่งเศสนี้เองที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์
ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช (ขณะนั้นทรงเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วและ เสด็จฯ ไปทรงศึกษาต่อที่สวิตเซอร์แลนด์) ซึ่งทรงโปรดการเสด็จประพาสกรุงปารีส โดยทางรถยนต์จาก สวิสเซอร์แลนด์ เพื่อทอดพระเนตรรถยนต์ แทนคันเดิมที่รับราชการสนองพระเดชพระคุณมาเป็นเวลานาน และการแสดงดนตรีของคณะที่มีชื่อเสียงอยู่บ่อยครั้ง และในระหว่าง ที่เสด็จฯ มายังกรุงปารีส ก็จะทรง ประทับที่สถานทูตไทยประจำประเทศฝรั่งเศสเช่นเดียวกันกับนักเรียนไทยคนอื่น
และเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดการดนตรีเป็นพิเศษ
ขณะที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เอง ก็สนใจและรอบรู้เข้าใจ ในศิลปะการดนตรีเป็นอย่างดี ทำให้เป็นที่ต้องพระราชอัธยาศัย จนกลายเป็น ความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นในที่สุด







ในปี 2491 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์

และทรงเข้ารับ การรักษาพระองค์ในโรงพยาบาล โดยมีหม่อมหลวงบัว และหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เข้าเฝ้าฯ ถวายการพยาบาลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา และในช่วงระยะเวลาที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์อยู่เฝ้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่สวิสเซอร์แลนด์นั้น สมเด็จพระราชชนนี ได้ทรงรับเป็นธุระ จัดการให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เข้าศึกษาใน Pensionnat Rinate Rive ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำ ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง ของโลซานน์ จนเมื่อหลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหายจาก อาการประชวรแล้ว ได้ทรงหมั้นหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เป็นการภายในเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2492


ภายหลังจากพิธีหมั้นผ่านไป หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ยังคงศึกษาอยู่ต่อ
จนเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯนิวัติพระนคร จึงทรงโปรดให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ตามเสด็จ พระราชดำเนินกลับมาด้วย เพื่อร่วมในพระราชพิธีถวายพระเพลิง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ในเดือนมีนาคม 2493
ต่อมาในวันที่ 28 เมษายน ปีเดียวกันนั้น
ทรงโปรดให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสขึ้น ณ วังสระปทุม และโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินี สิริกิติ์ ครั้นเมื่อ มีพระราชพิธี บรมราชาภิเษก ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช โปรดให้เฉลิมพระนามาภิไธยสมเด็จพระราชินี สิริกิติ์ เป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี หลังจากนั้นทั้ง 2 พระองค์ ได้เสด็จฯ กลับไปยังสวิสเซอร์แลนด์อีกครั้งหนึ่ง เพื่อทรงรักษาพระองค์ และทรงศึกษาต่อ และได้เสด็จฯ กลับมาประทับที่ประเทศไทยในปี 2495
ในปี 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ออกบรรพชาตามโบราณราชประเพณีเป็นเวลา 15 วัน
ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม ถึง 5 พฤศจิกายน ในระหว่างที่ผนวชอยู่นี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์ ซึ่งต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดฯให้เฉลิมพระอภิไธย เป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อ 5 ธันวาคมศกนั้น

วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

วันแม่แห่งชาติ




วันแม่แห่งชาติ
ทุกวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี

วันแม่แห่งชาติ หรือที่คนไทยทั่วไปนิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า "วันแม่" ทุกคนรับทราบและซาบซึ้งกันดี เนื่องจากวันสำคัญนี้ตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถคือ วันที่ 12 สิงหาคม อันเป็นวันคล้ายวันเสด็จพระราชสมภพและถือว่าเป็นวันแม่ของชาติด้วย

แต่เดิมนั้น วันแม่ของชาติได้กำหนดเอาไว้วันที่ 15 เมษายนของทุก ๆ ปี ทั้งนี้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีประกาศรับรอง เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2493 ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงาน วันแม่ มาตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2493 เป็นครั้งแรกเป็นต้นมานั้นได้รับความสำเร็จด้วยดี ด้วยประชาชนให้การสนับสนุนจนสามารถขยายขอบข่ายของงานให้กว้างขวางออกไป มีการจัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา การประกวดคำขวัญวันแม่ การประกวดแม่ของชาติ เพื่อให้เกียรติและตระหนักในความสำคัญของแม่ และเพื่อเพิ่มความสำคัญของวันแม่ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของรัฐบาลฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม แต่โดยทั่วไปเรียกกันว่าวันแม่ของชาติ
ต่อมาถึง พ.ศ.2519 ทางราชการได้เปลี่ยนใหม่ให้ถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ เริ่มในปี พ.ศ.2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
วันแม่แห่งชาติ เป็นวันที่ทางราชการกำหนดในวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี และถือว่าเป็นวันสำคัญยิ่งของปวงชนชาวไทย โดยกำหนดให้ถือว่า "ดอกมะลิ" สีขาวบริสุทธิ์เป็นสัญลักษณ์ของความดีงามของแม่ผู้ให้กำเนิดแก่เรา

กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันแม่แห่งชาติ

ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน
จัดกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับวันแม่ เช่น การจัดนิทรรศการ
จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทำบุญใส่บาตรอุทิศส่วนกุศล เพื่อรำลึกถึงพระคุณของแม่
นำพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบขอพรจากแม่

วันศุกร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2552

รับตรวจคุณภาพชีวิต 52




ตรวจระเบียบวินัยกำลังพลก่อนออกไปปฏิบัติหน้าที่



ตรวจค้นก่อนลาและกลับจากการลา